มาตรา 22: ข้อ3.สัญญาณไฟจราจรไฟสีเขียว
สัญญาณไฟจราจรไฟสีเขียว หรือ เครื่องหมายจราจรสีเขียว ที่มีคำว่า "ไป" ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่มีเครื่องหมายจราจรกำกับไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 22: ข้อ4.สัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียว
ชี้ให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป หรือสัญญาณจราจรไฟสีแดงแสดงพร้อมกับสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยว หรือชี้ให้ตรงไปให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับรถตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้ และต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้ามหรือรถที่มาทางขวาก่อน
การขับรถใช้เสียงนำสมอง (Part 1)
เป็นเทคนิคการขับรถระดับสูงที่หลายประเทศนิยมใช้กันมาก ซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่มีสมาธิอยู่กับการขับรถตลอดเวลา และสามารถควบคุมรถได้ดีในทุกสถานการณ์ ทำให้การขับรรถมีความปลอดภัยมากขึ้น จาการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่า การขับรถวิธีนี้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุอย่างได้ผล
การขับรถใช้เสียงนำสมอง (Part 2)
ในขณะขับรถ ให้ผู้ขับขี่พูดออกมาดังๆว่า ขณะขับรถผู้ขับขี่เห็นอะไร จากการสังเกตการณ์โดยมองระยะไกล ระยะกลาง และระยะใกล้ จากนั้นนำสิ่งที่มองเห็นมาแยกแยะว่าสิ่งที่เห็นนั้นมีอันตรายหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ เมื่อรู่ว่ามีอัตรายหรือมีความเสี่ยงจะแก้ไขอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการพูดต้องพูดให้ครบวงจร
การขับรถวิธีนี้ยังใช้สำหรับตรวจสอบ
การขับรถวิธีนี้ยังใช้สำหรับตรวจสอบว่า ขณะขับรถเขามีข้อบกพร่องอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องของการสังเกตการณ์ การคาดการณ์ล่วงหน้า และการแก้ไขสถานการณ์ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ
ประเภทของเข็มขัดนิรภัย
แบบรัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ (แบบ 3 จุด) สำหรับผู้ขับรถและผู้ที่นั่งตอนหน้าแถวเดียว กับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด
แบบรัดหน้าตัก (แบบ 2 จุด) สำหรับผู้ที่นั่งตอนกลาง ระหว่างผู้ขับรถและผู่ที่นั่งตอนหน้า แถวเดียวกับผู้ขับรถ ที่อยู่ด้านริมสุด
ประเภทรถยนต์ที่กำหนดให้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยรถยนต์
โดยกำหนดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ของปี พ.ศ. 2522
1. รถที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 มกราคม 2531 เป็นต้นไป ดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุลคล (รถเก๋ง)
- รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
- รถยนต์รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท็กซี่)
2. รถที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป ดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุลคลเกิน 7 คน (รถ ตู้)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุลคล (รถปิกอัพ)
รถยนต์ตาม พ.ร.บ.
การข่นส่งทางบก พ.ศ. 2522 เฉพาะรถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป ดังนี้
2.1 รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 15 ที่นั่ง ซึ่งจดทะเบียนรหัส นำหน้า 10 (การขนส่งประจำทาง) 30 (การขนส่งไม่ประจำทาง) 40 (การขนส่งส่วนบุคคล)
.
2.2 รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กิโลกรัมที่จดทะเบียน รหัสนำหน้า 70 (การขนส่งไม่ประจำทาง)
2.3 รถขนาดเล็กที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน 15 ที่นั่ง ซึ่งจดทะเบียน รหัสนำหน้า 20 (รถประจำทางวิ่งในเขตเมือง)
อบรมทดสอบผู้ขับขี่รถที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาติขับขี่
บันทึกคะแนนครั้งละ 10 คะแนน สำหรับฐานความผิด A
ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร